ปี 2567 ความต้องการบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งมีการฟื้นตัวของภาคการบริการและการท่องเที่ยว และความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ภาคการส่งออก ในภูมิภาคมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการค้าที่ขยายตัวในระดับโลกและภาวะเงินเฟ้อที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยในเรื่องการแข็งค่าของเงินบาทและสกุลเงินอื่น ๆ ในอาเชียนในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งส่งผลให้มีการชะลอตัวของการส่งออก ในขณะที่อุตสาหกรรมกระดาษบรรจุภัณฑ์ยังคงเผชิญกับปัจจัยท้าทายจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่ช้ากว่าคาดการณ์ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการส่งออกและราคาของกระดาษบรรจุภัณฑ์ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
SCG& PartnP รับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทายและเสริมธุรกิจด้วยการทรานส์ฟอร์ม (Transformative Transformation) ใน 4 ด้านหลัก เพื่อปรับตัวอย่างต่อเนื่องให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก และการเติบโตของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ ได้แก่ Business Model Transformation ด้วยกลยุทธ์การขยายธรกิจเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร (Merger ership) รวมถึงสร้างการเติบโตด้วยการต่อยอดความเชี่ยวชาญผ่านนวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์กลุ่มสินค้าที่ใกล้ชิดกับการใช้งานของผู้บริโภคโดยตรง (Downstream) เช่น บรรจุภัณฑ์กระดาษ บรรจุภัณฑ์จากวัสดุดุ (สมรรถนะสูง บรรจุภัณฑ์อาหาร และวัสดุดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเติบโตสูง โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ การเข้าถือหุ้นร้อยละ 90 ในบริษัทวีอีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด (VEM-TH) ผู้ผลิตชิ้นส่วนสมรรถนะสูงจากการฉีดขึ้นขึ้นรูปพอลิเมอร์ เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจบรรจุภัณฑ์วัสดุดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มใน PT Fajar Surya Wisesa Tbk. (Fajar) ที่ประเทศอินโดนีเซีย รวมร้อยละ 99.71 ของหุ้นทั้งหมด เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นรากฐานสำหรับการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรให้ SCGP ในระยะยาว และดำเนินกลยทธ์การขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์ กระดาษลูกฟูกในประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการบรรจุภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยั้งยังได้มุ่งผสานความร่วมมือ เสริมความแข็งแกร่งระหว่างธุรกิจ (Synergy) ทั้งด้านการขยายฐานลูกค้า การส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ควบวงจร การพัฒนาช่องทางขยายลูกค้าไปยังภูมิภาคใหม่ ๆ ที่มีโอกาสเติบโตสูง การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การจัดหาวัตถุดิบโดยมุ่งเน้นการเข้าใกล้แหล่งต้นทางให้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ SCGP สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือกับความผันผวนของตลาด
SCGP ให้ความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เช่น ความร่วมมือกับ Once Medical Co., Ltd. เพื่อพัฒนาโซลูชันด้านเข็มฉีดยาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพสูง การวิจัยและพัฒนา "ยูคาลิปตัลไฮบริดสายพันธุ์ใหม่" ที่มีการเติบโตและผลผลิตสูงขึ้นถึงร้อยละ 40 และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่า ช่วยส่งเสริมภาพรวมอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้า และได้รับรางวัล "Best Innovative Company Awards" จากเวที SET Awards 2024 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร ซึ่งเป็นรางวัลนวัตกรรมที่ได้รับเป็นปีที่สามติดต่อกันโดยการดำเนินงานล้วนมาจากการทำ People Transformation เพื่อพัฒนาพนักงาน เพิ่มความสามารถและศักยภาพของคนในการจัดการองค์กร ให้สอดคล้องกับการเติบโตรธุรกิจและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น ได้แก่ ทักษะ ความสามารถ และความเขียวชาญในการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รวมถึงการสร้างวัฒนธรรรมองค์กรในการเปิดรับ ความแตกต่างทีหลากหลาย เคารพซึ่งกันและกัน (Diversity, Equity and Inclusion : DE&I) และสร้าง Growth Mindset ให้พนักงานมีความสนใจพร้อมพัฒนาตนเอง ริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
สำหรับในด้าน Digital Transformation บริษัทมีการบริหารจัดการข้อมูลและการผสานเทคโนโลยีเข้ากับทุกส่วนของธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการพัฒนารูปแบบการขายและการบริการ เพื่อส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์ให้ตรงใจลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีคุณภาพทั้งสินค้าและบริการ เช่น การนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้เพื่อวิเคราะห์ คาดการณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การนำ Data Analytics มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลแบบครบวงจร (End-to-End) เช่น ระบบการติดต่อ การสั่งซื้อ และ การส่งมอบสินค้าที่ช่วยให้การตรวจลอบข้อมูลผลิตภัตภัณฑ์เป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการวัตถุดิบและสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมเถึงลดต้นทุนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ SCGP ได้นำปัญญาประดิษฐ์ (Artihcial Intelligence : AI) และ Machine Learning (ML) มาประยุกต์ใช้ในห่วงโซ่อุปทานมากกว่า 95 กระบวนการ อาทิ การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอัตโนมัติ การควบคุมการผลิตกระดาษแบบเรียลไทม์เพื่อควบคุมคุณภาพ และลดการใช้พลังงาน
SCGP ดำเนินธุรกิจตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบแนวคิด ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) รวมทั้ง ขับเคลื่อน Sustainability Transformation เพื่อร่วมลดก๊าซเรือนกระจกโดยมีการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และกำหนดแผนผนการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานชีวมวล การพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยในปี 2567 SCGP สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับปีฐาน (ปี 2563) นอกจากนี้ SCCP ยังสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งห่วงโซ่คุณค่า ด้วยการทุ่มเทและพยายามในการขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุกัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 161 รายการ เพื่อให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ และเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ที่มาช่วยเพิ่มโอกาสทางการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ให้กับลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถ ต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย ซึ่งในปี 2567 SCGP ได้รับการจัดอันดับ เป็นองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าชเรือนกระจก (CALO) ในระดับยอดเยี่ยมจากเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) และ ได้รับการเพิ่มอันดับความยั่งยืนโดย Morgan Stanley Capital International (MSCI) เป็น A อีกทั้งยังผ่านเกณฑ์การประเมินดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ (Dow Jones Sustainability Index : DJSI) ในกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ (Containers & Packaging Industry) จาก S&P Global ด้วยคะแนนรวม 87 คะแบน รวมทั้งได้รับการประเมิน SET ESG Rating ในระดับ AAA
ท่ามกลางความท้าทาย SCGP ยังคงดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ และมีประสิทธิภาพ ทำให้มีรายได้จากการขายรวม 132,784 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน กำไรสำหรับปีเท่ากับ 3,699 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30 จากปีก่อน คณะกรรมการบริษัทจึงมีมติเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 อนุมัติการจ่ายเงินปันผล ประจำปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.55 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 2,361 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.8 ของกำไรสำหรับปีตามามงบการเงินรวม ชึ่งสอดคล้องกับนโยบายการจ่ายเงินปันผล โดยแบ่งเป็นเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท และเงินปันผลประจำปีส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท
ปี 2568 SCGP ยังคงเดินหน้าสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ผ่านการทรานส์ฟอร์มในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งปรับปรุงธุรกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรผ่านการสร้างความร่วมมือในระดับองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินงานมีความสอดคล้องและประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้ง การปรับโครงสร้างทางการเงินให้เหมาะสม ยกระดับการบริการลูกค้า เพื่อส่งมอบโซลูชันนบรรจภัณฑ์ครบวงจร เร่งการปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และมองหาโอกาสในการเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว มุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจที่เติบโตตามผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของบริษัท โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการบูรณาการในห่วงโซ่อุปทานและเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ในด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์รวมถึงวัสดุดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในยุคที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรให้มี ศักยภาพด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการมุ่งดำเนินธรกิจตามกรอบแนวคิด ESG ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของ SCGP ในการมุ่งสร้างความยั่งยืนในทุกมิติของธุรกิจ
ในโอกาสนี้ คณะกรรมการบริษัทขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ร่วมทุน คู่ค้า คู่ธุรกิจ ลูกค้า พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดทั้งสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้ให้ความไว้วางใจ และสนับสนุนการดำเนินงานด้วยดีตลอดมา และขอให้เชื่อมั่นว่า SCGP จะดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การกำกับกิจการที่ดี มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำในระดับสากลที่สร้างการเติบโตควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG และเน้นสร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่า ให้เติบโตไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล /
ประธานกรรมการ
นายวิชาญ จิตร์ภักดี /
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร